วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555


ความเป็นมาเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
.....• ปี  ค.ศ. 1963 Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ริเริ่มโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารระยะไกล
.....• ได้ตั้งโครงการที่ชื่อว่าARPANET โดยเป็นโครงการวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
.....• เครือข่าย ARPANET ได้ถูกกปรับปรุงพัฒนาให้มีความสมบรูณ์ขึ้นเรื่อยๆและได้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา และองค์กรพาณิชย์
.....• จนพัฒนาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
.....• โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
.....• โปโตคอล (Protocol)
.....• ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
.....• ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
.....• อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ได้แก่
..........– ระบบเครือข่ายย่อย ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลหรือขององค์กรที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น LAN, MAN หรือ WAN
..........– ระบบโครงข่ายการสื่อสารเช่นโครงข่ายโทรศัพท์โครงข่ายFiber Optics หรือระบบดาวเทียมเป็นต้น
..........– เร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับจัดการเส้นทางจราจรของข้อมูลที่
ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต
Router
.....เราท์เตอร์ (Router) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่มีหน้าที่จัดเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล จากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
.....• เราท์เตอร์สามารถจัดเส้นทางได้แบบพลวัต (Dynamic) หมายถึงการส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องส่งไปยังเส้นทางเดิมเสมอ
.....• ความสามารถพิเศษที่อาจมีได้คือ การเลือกกรอง (Filter) ข้อมูล ว่าจะให้ส่งผ่าน
เครือข่ายไปได้หรือไม่ซึ่งการเลือกกรองจะช่วยลดปัญหาความคับคั่งของการ
สื่อสารและการเพิ่มความปลอดภัยในเครือข่าย
โปโตคอล (Protocol)
.....• โปรโตคอลคือข้อตกลงที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารของระบบเครือข่าย
.....• เครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่ต้องการจะเข้าร่วมเครือข่ายจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในโปโตคอลของระบบเครือข่ายนั้น
.....• โปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต เรียกว่าTCP/IP
..........– TCP (Transmission Control Protocol) ใช้สำหรับควบคุมรูปแบบการส่งข้อมูล ใน
อินเตอร์เน็ต
..........– IP (Internet Protocol) ใช้สำหรับควบคุม เกี่ยวกับการระบุตำแหน่งของหน่วยต่างๆที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
หลักการทำงานพื้นฐานของ TCP/IP
.....• การรับส่งข้อมูล
..........– มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าPackage
..........– แต่ละPackage จะมีการระบุส่วนหัว (Header) ซึ่งจะต้องระบุถึงที่หมายเลขที่อยู่(IP address) ของปลายทางและต้นทาง และข้อมูลอื่นๆ
..........– แต่ละPackage จะถูก ส่งไปในเครือข่ายซึ่งมีหลายเส้นทางที่จะไปถึงปลายทาง
..........– Router จะเป็นตัวจัดเส้นทางในการส่งPackages ไปยังโหนดถัดไป
..........– แต่ละPackage อาจไม่ได้ไปเส้นทางเดียวกันทั้งหมดหรืออาจไม่ไปถึงปลายทางพร้อมกันทั้งหมด
..........– เมื่อไปถึงปลายทางเครื่องปลายทางจะรวบรวม Package ทั้งหมดเข้ามาแล้ว คืนสภาพกลับมาเป็นข้อมูลเดิม
IP Address
.....• หมายเลขไอพี (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะต้องกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออปุกรณ์เครือข่ายเช่น เครื่องเราท์เตอร์โดยไม่ให้ซ้ำกัน
.....• แต่ละเครี่องจะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสองจำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุดโดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต แต่เพื่อความสะดวกในการจดจำมักจะเขียนในรูปฐานสิบ
การจัดสรรหมายเลข IP
.....• ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
.....• หมายเลขถูกจัดกลุ่มไว้5คลาสดั้งนี้
Domain Name
.....• การจดจำหมายเลข IP เป็นเรื่องยากดังนั้นจึงมีการสร้างระบบชื่อขึ้น เพื่อง่ายต่อการจดจำคือระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
.....• ตัวอย่างของชื่อโดเมน www.nu.ac.th ซึ่งมีรูปแบบที่จำง่ายและสามารถเข้าใจความหมายได้ง่าย
ความหมายของชื่อโดเมน
ความหมายของซับโดเมน
Domain Name ระดับประเทศ
นายทะเบียน (Registrars)
.....• InterNIC คือองค์กรซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักคอยกำกับควบคุมการจดชื่อโดเมน เพื่อไม่ให้มีชื่อที่ซ้ำซ้อนเกิดขึ้น
.....• InterNIC ได้มอบหมายให้บริษัทเอกชนต่างๆ ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียนชื่อโดเมน
.....• ซึ่งเจ้าของชื่อโดเมนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนเป็นรายปี
Domain Name Server
.....• Domain Name Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บชื่อโดเมนและระบุหมายเลข IP ของชื่อโดเมนนั้นเพื่อให้แจง้ให้กับเครื่องอื่นที่มาขอบริการทราบ


ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (Internet Service Provider: ISP)
.....• ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) คือผู้ที่ลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และขายบริการในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ใช้บริการซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปหรือองค์กร
.....• ISP จะได้รับค่าตอบแทนจากค่าบริการที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายให้
.....• อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่ประเภทของบริการที่ผู้ใช้ซื้อ
.....• ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลายรายเช่น TOT, Internet Thailand, True Internet, Internet KSC, LoxInfo และอื่นๆ
การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
.....• ผ่านทางวงจรเช่า (Leased line)
..........– ผู้ใช้บริการขอซื้อบริการเครือข่ายจาก ISP โดยช่องทางการสื่อสารนั้นผู้ใช้บริการจะมีสิทธิได้ใช้เพียงรายเดียวไม่ต้องใช้ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นซึ่งจะได้รับบริการอย่างเต็มที่และมีความปลอดภัยสูง
.....• ผ่านทางระบบโทรศัพ์ทพื้นฐาน
..........– ใช้โครงข่ายของโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณไปยัง ISP
..........– สัญญาณโทรศัพท์เป็นสัญญาณแบบอนาล็อกดังนั้นจะต้องใช้MODEM ใน
การแปลงสัญญาณจึงจะสามารถส่งผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ได้

Modem
.....• MODEM (Modulate and Demodulate) คืออปุกรณ์ที่ทำการแปลงสัญญาณ ดังนี้
..........– แปลงจาก Digital เป็น Analog
..........– แปลงจาก Analog กลับไปเป็น Digital
.....• MODEM ในปัจจุบันเป็นแบบ DSL MODEM ซึ่งมีการแบ่งช่องสัญญาณเป็น
..........– ช่องสัญญาณสำหรับการสนทนาโทรศัพท์และ
..........– ช่องสัญญาณสำหรับการรับและส่งข้อมูล
.....• สามารถคุยโทรศัพท์ได้ในขณะใช้อินเตอร์เน็ต
.....• ADSL คือ MODEM ที่มีการกำหนดความเร็วในการรับและส่งไม่เท่ากัน
ADSL MODEM



การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
.....• ผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย
..........– คือการใช้ช่องสัญญาณของระบบโทรศัพท์ไร้สายเชื่อมต่อไปยัง ISP
..........– ปกติผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายจะให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย
..........– ผู้ใช้บริการโทรศัพท์จะต้องขอเปิดบริการอินเตอร์เน็ตและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม

3G
.....• 3G คือมาตรฐานการสื่อสารของโทรศัพท์ไร้สายที่กำหนดโดย International Telecommunication Union ได้ระบุถึงบริการในการรับส่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความเร็วสูง
.....• บริการบนระบบ 3G ได้แก่ VDO Conference, High Speed Internet เป็นต้น
.....• ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของระบบ 3G
..........– 14.0 Mbit/s (1.75 MB/s) ในการ download
..........– 5.8 Mbit/s (0.725 MB/s) ในการ upload
.....• ปัจจุบันประเทศไทยยังจัดสรรคลื่น 3G ไม่เสร็จเลยเป็นประเทศที่เกือบล้าหลังที่สุดในเอเชียในด้านเทคโนโลยี 3G (มีแนวโน้มว่าไทยจะไม่เอา 3G แล้ว แต่จะเอา 3.9G ไปเลย)
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
.....• โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Application)
.....• สังคมออนไลน์ (Social Networking)
.....• ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
.....• สนทนา (Chat)
.....• อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
.....• การติดตามข่าวสาร
.....• การสืบค้นข้อมูล
.....• การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
.....• การอับโหลดและดาวโหลดข้อมูล 
.....• การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
.....• การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
.....• การเรียนออนไลน์ (e-Learning)
.....• การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
.....• โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
.....• อื่นๆ
บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
.....• FTP (File Transfer Protocol)
.....• Email
.....• IM (Instant Messaging)
.....• WWW
FTP (File Transfer Protocol)
.....• FTP คือมาตรฐานโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายข้อมูลบนเครือข่ายแบบ TCP/IP
.....• ลักษณะการทำงานเป็นแบบ Client-Server
.....• ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลส่งไปเก็บหรือเรียกกลับมาจากเครื่อง Server ได้
.....• จำเป็นต้องอาศัย Software ที่ทำงานตาม  FTP





Email
.....• อีเมล คือการสื่อสารบนระบบเครือข่ายในรูปแบบจดหมายอีเล็คโทรนิค ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารในแบบ Store and Forward
.....• ผู้ส่งจะส่งจดหมายไปเก็บไว้ยัง Mail Server ของผู้รับโดยระบุชื่อตำแหน่งอีเมล เช่น
xman@hero.com เป็นต้น
.....• ผู้รับจะต้องเข้าไปเช็คจดหมายของตนบน Mail Server
.....• ผู้รับสามารถส่งต่อ (Forward) ไปยังผู้รับรายอื่นได้
.....• โปรโตคอล ที่ใช้สำหรับอีเมลคือ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IM (Instant Messaging)
.....• IM คือรูปแบบการสนทนาแบบ real time ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลการสนทนามักจะเป็นการส่งข้อความ ภาพ หรือ สื่ออื่นๆ ระหว่างผู้สนทนา
.....• ผู้ให้บริการ IM
..........– MSN Messenger
..........– Yahoo Messenger
..........– Google Talk
..........– Facebook
..........– Camfrog
..........– Etc.
บริการ WWW (World Wide Web)
.....• WWW (World Wide Web)
..........– เอกสาร Hypertext ที่เก็บบนเครื่อง Web Server และต้องทำการอ่านด้วย Web Browser
..........– นอกจากเอกสาร Hypertext แล้วในปัจจุบัน Web Server ยังสามารถสนับสนุนการแสดง Multimedia และการเชื่อมต่อของโปรแกรมๆ (Plug-in) อื่นได้อีกด้วย
.....• Web Browser ที่ใช้ในปัจจุบัน
..........– Windows Internet Explorer, Mozilla-Firefox, Apple Safari, Google Chrome, and Opera.
หลักการพื้นฐานของ WWW

มาตราฐานหลักที่ใช้ใน WWW
.....• Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
.....• Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์
.....• Hypertext Markup Language (HTML) เป็นภาษากำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
URL (Universal Resource Locator )
.....• URL ใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการและมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา

HTTP และ HTML